การแพ้อาหาร ภัยเงียบของระบบทางเดินอาหารและลำไส้

การแพ้อาหาร ภัยเงียบของระบบทางเดินอาหารและลำไส้

การแพ้อาหาร (Adverse Food Reaction)ที่เป็นคำนิยามในระดับสากล จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลักๆคือ

กลุ่มที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกันของร่างกาย (Non-immune mediated) ซึ่งสาเหตุหลักคือ ร่างกายขาดเอนไซม์ที่จำเป็นสำหรับการย่อยอาหารนั้นๆ ทำให้ไม่สามารถย่อยและดูดซึมไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เราเรียกสภาวะนี้ว่า ภูมิแพ้อาหารแฝงชนิดที่ไม่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกันร่างกาย หรือ Food Intolerance

กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกันของร่างกาย (Immune mediated) แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ

 

Food Allergies หรือ การแพ้อาหารแบบรุนแรงและเฉียบพลัน ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับระบบภูมิต้านทานของร่างกายชนิด Ig E มักพบในเด็ก 6-8% และผู้ใหญ่ 2% และแสดงอาหารแพ้รุนแรงภายใน 2 ชั่วโมงหรือน้อยกว่านั้น มักพบในอาหารจำพวกถั่ว ไข่ นมและอาหารทะเล

 

Food Sensitivity หรือการแพ้อาหารแบบช้าๆ (Delayed Food Allergy) อาจเกิดขึ้นหลังจาก 72 ชั่วโมงไปแล้ว ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับระบบภูมิต้านทานของร่างกายชนิด Ig G มักพบในเด็กและผู้ใหญ่มากถึง 45% และพบในอาหารจำพวกธัญพืช นม ไข่ น้ำตาลและอื่นๆมากถึง 200 ชนิด บางครั้งการแพ้อาหารชนิดอาจถูกเรียกว่า Food Intolerance หรือ ภูมิแพ้อาหารแฝงชนิดที่เกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกันของร่างกาย

 

 

Food Sensitivity หรือการแพ้อาหารแบบช้าๆ (Delayed Food Allergy) พบว่ามีกลไกการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันโดยการสร้างแอนติบอดี้ (Antibody) ชนิด IgG ไปจับกับอาหาร สารพิษ หรือสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆที่หลุดผ่านผนังลำไส้ แล้วก่อตัวเป็น Immune Complex ของสารแอนติเจน (Antigen) หรือสิ่งแปลกปลอม กับสารแอนติบอดี้ (Ag-Ab Complex)หรือ IgG ขึ้นมา ซึ่งจัดเป็นการแพ้ชนิดที่ 3  ที่แพทย์มักเรียกว่า Immune Complex-Mediated Hypersensitivity” ซึ่งลักษณะเฉพาะของการตอบสนองเช่นนี้เป็นไปแบบช้า ๆ จึงทำให้ยากต่อการวินิจฉัยลักษณะสำคัญของอาการทางคลินิกอันเนื่องมาจากการเกิดปฏิกิริยาเรื้อรังของ IgG ขึ้นอยู่กับอวัยวะเป้าหมายที่ Immune Complex เข้าไปสะสม

 

Food Sensitivity หรือการแพ้อาหารแบบช้าๆ จึงเป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะลำไส้รั่ว มีงานวิจัยมากมายที่ศึกษาความเชื่อมโยงระหว่างกับโรงเรื้อรังหลายชนิดในระบบทางเดินอาหาร โดยนักวิจัยค้นพบว่า มีความสัมพันธ์กับ

โรคลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome; IBS) ทำให้มีอาการท้องผูกสลับกับท้องเสีย

โรคทางเดินอาหารอักเสบโครห์น (Cronh’s disease) ทำให้มีอาการปวดท้อง ท้องเสียรุนแรง อ่อนเพลีย

โรคแพ้กลูเตน(Celiac Disease) อาจทำให้มีอาการท้องอืด ท้องร่วง แน่นท้อง ปวดท้อง

 

เอกสารอ้างอิง

https://cellsciencesystems.com/education/research/inflammatory-symptoms-immune-system-and-food-intolerance-one-cause-many-symptoms/
Stewart A, Pratt-Phillips S, Gonzalez L. Alterations in Intestinal Permeability: The Role of the “Leaky Gut” in Health and Disease. Journal of Equine Veterinary Science. 2017;52:10-22.
Fasano A. Leaky Gut and Autoimmune Diseases. Clinical Reviews in Allergy & Immunology. 2011;42(1):71-78.
Eske J, Saurabh (Seth) Sethi M. Leaky gut syndrome: What it is, symptoms, and treatments [Internet]. Medical News Today. 2019 [cited 12 October 2019]. Available from: https://www.medicalnewstoday.com/articles/326117.php
Marcelo Campos M. Leaky gut: What is it, and what does it mean for you? – Harvard Health Blog [Internet]. Harvard Health Blog. 2019 [cited 12 October 2019]. Available from:
 https://www.health.harvard.edu/blog/leaky-gut-what-is-it-and-what-does-it-mean-for-you-2017092212451
Dixon H. Treatment of Delayed Food Allergy Based on Specific Immunoglobulin G Rast Testing. Otolaryngology–Head and Neck Surgery. 2000;123(1):48-54.
https://www.glutenfreesociety.org/using-the-right-lab-test-to-identify-food-allergies/
https://www.functionalnutritionanswers.com/what-is-the-best-food-sensitivity-test/