ผลกระทบปฏิกิริยาอาหารแบบแฝงกับเด็ก ตอนที่ 1

ปฏิกิริยากับอาหารแบบแฝง หรือ Hidden food reaction จะแสดงอาการไม่รุนแรง​ หากเทียบกับการแพ้อาหารแบบฉับพลัน​( Food Allergy) โดยการแพ้อาหารแบบแฝงนั้น ร่างกายจะสร้างแอนติบอดี้ชนิดG (IgG) หรือทหารรบชนิดโจมตีเงียบ ออกมาทีละน้อยๆ​ ซึ่งจะทำปฏิกิริยากับอาหารที่ก่อปัญหา(ศัตรู)​ ส่งผลให้สงครามในครั้งนี้​ เกิดการกระทบจากอาวุธและสารที่เกิดจากการต่อสู้​ ส่งผลทำลายเนื้อเยื่อของร่างกายเราเอง​ นานเข้าๆ​ จะไปรบกวนระบบภูมิต้านทานทั้งร่างกายจนแปรปรวน​ ซึ่งปกติจะใช้เวลาในการส่งสัญญาณ​และสู้รบเงียบๆ​ ประมาณในช่วงเวลา 3 วัน​หรืออาจเร็วกว่านั้น

 

ภาวะปฏิกิริยากับอาหารแฝง (Hidden food reaction ) มีสาเหตุเริ่มต้นจากระบบทางเดินอาหาร มักเกี่ยวข้องกับภาวะลำไส้รั่ว (Leaky Gut Syndrome) โดยปกติ​ ภาวะลำไส้รั่วจะเกิดจากปัจจัยกระตุ้นได้หลายอย่าง เช่น ความเครียด พักผ่อนน้อย การเจ็บป่วย สารพิษ ดื่มแอลกอฮอลล์ การรับประทานอาหารชนิดที่มีปฏิกิริยาแบบแฝงซ้ำๆ รับประทานยาปฏิชีวะนะนานเกิน​10วัน หรือการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนยาปฏิชีวนะ หรือสารพิษ การรับประทานยาบางชนิดเช่นสเตียรอยด์ หรือ NSAID อย่างต่อเนื่อง ภาวะขาดสารอาหารเช่นแร่ธาตุสังกะสี หรือขาดเอนไซม์ที่จำเป็นสำหรับการย่อยอาหาร เมื่อรับประทานอาหารที่ร่างกายสร้าง IgG ต่อต้านจะยิ่งส่งผลทำให้เซลล์ในชั้นเยื่อบุผนังลำไส้เกิดการอักเสบ เซลล์ลำไส้ที่อักเสบจะสูญเสีย tight junctions เกิดเป็นรูรั่วเล็กๆในระหว่างเซลล์(Alteration in Intestinal Permeability) สูญเสียภาวะที่สามารถคัดกรองเอาอาหารที่ผ่านการย่อยสมบูรณ์แล้วไป  ทำให้อาหารที่ยังถูกย่อยไม่สมบูรณ์ สารพิษ สารเคมี สิ่งแปลกปลอมต่างๆ ที่ร่างกายต้องขับออกไป กลับหลุดลอดเข้าสู่กระแสเลือดแทน ระบบภูมิต้านทานของร่างกายชนิด IgG จะถูกกระตุ้นให้ตื่นตัวและต่อต้านสิ่งแปลกปลอมเหล่านั้น จนเกิดปฏิกิริยาที่เรียกว่า “การอักเสบ”

อาการแรกที่พบบ่อยๆเป็นอันดับต้นๆคือ อาการทางผิวหนัง บางรายมีอาการ​คันเหมือนเป็นลมพิษ ในบางรายอาจมีผิวหนังแดงและรู้สึกคัน แต่ไม่มีผดผื่น​ บางรายอาจมีอาการบวมบริเวณใบหน้า รอบดวงตา ริมฝีปาก ลิ้น เพดานปาก​ ซึ่งการตอบสนองต่อการแพ้ชนิดผื่นผิวหนังอักเสบ (Eczema) ซึ่งมักจะพบในเด็กและก่อความกังวลให้กับผู้ปกครองจนต้องพามาปรึกษาแพทย์…

 

มีต่อตอนหน้านะคะ