ภาวะลำไส้รั่ว (Leaky Gut Syndrome)

โรคทางเดินอาหารและลำไส้ อาจเป็นนัย ภูมิแพ้อาหารแฝง
โรคทั้งหลายเริ่มต้นที่ลำไส้ หรือ “All disease begins in the gut” คือ ความจริงที่สะท้อนเรื่องสุขภาพของสังคมในปัจจุบัน เพราะลำไส้เล็กของเราเสมือนเป็นปราการคัดกรองสารเข้าสู่ร่างกาย หลังจากผ่านการย่อยจนได้โมเลกุลสารอาหารที่เล็กที่สุด

สังคมที่เร่งรีบประกอบกับพฤติกรรมการรับประทานอาหารเดิม ๆ ซ้ำ ๆ การรับสารพิษจากยาฆ่าแมลงตกค้างสะสม ล้วนส่งผลต่อความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ จนทำให้คนจำนวนไม่น้อยต้องทนทุกข์ทรมานจากอาการของ “ภาวะลำไส้รั่ว”

“ภาวะลำไส้รั่ว (Leaky Gut Syndrome)” คืออะไร?
ลำไส้รั่ว ไม่ใช่อาการของอาหารหลุดออกมานอกลำไส้ ตามที่เข้าใจกัน แต่คือสภาวะที่ เซลล์เยื่อบุผนังลำไส้ที่เรียงตัวชิดติดกันเป็นระเบียบ (Tight Junctions) เกิดการอักเสบ จนเกิดช่องว่างระหว่างเซลล์ ทำให้หมดความสามารถในการควบคุมการผ่านเข้าออกของสารอาหารและหมดความสามารถในการป้องกันสารพิษ เชื้อก่อโรค หรือสิ่งแปลกปลอมผ่านเข้าสู่กระแสเลือด

เมื่อ บรรดาสารพิษ สารก่อภูมิแพ้ และเชื้อก่อโรคเล็ดลอดผ่านช่องว่างเหล่านี้เข้าสู่กระแสเลือดได้โดยไม่ผ่านการกรอง การร่างกายจึงต้องเร่งสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาต่อต้านสิ่งแปลกปลอมเหล่านี้ จนก่อให้เกิดปัญหาการอักเสบเรื้อรังซ้ำซากและกลายเป็นอาการเจ็บป่วยตามมา  เราเรียกสภาวะนี้ว่า “ภาวะลำไส้รั่ว” หรือ “Leaky Gut Syndrome”

สาเหตุที่ทำให้เกิด “ภาวะลำไส้รั่ว”
ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด เพราะแต่ละคนมีการดำเนินชีวิตและปัจจัยภายในที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง โดยเฉพาะในเรื่องของอาหารที่เราเลือกทานเข้าไปในแต่ละวัน โดยเฉพาะอาหารแปรรูป อาหารที่มีแป้งและน้ำตาลสูง มีเส้นใยไฟเบอร์ต่ำ เพราะนอกจากจะส่งผลให้ร่างกายสร้างกรดขึ้นมาทำลายผนังลำไส้แล้ว ยังเป็นแหล่งอาหารให้จุลินทรีย์ก่อโรคเพิ่มจำนวนมาก่อกวนผนังลำไส้จนรั่วในที่สุด โดยเฉพาะอาหารบางชนิด เช่น น้ำตาลแลคโตสในผลิตภัณฑ์จากนมวัว สารกลูเตนในข้าวสาลี ขนมปัง และเลคตินในผลิตภัณฑ์จากถั่วต่างๆเช่น  ถั่วเหลือง เต้าหู้ นอกจากนั้นยังมีปัจจัยเสริมอื่นๆ เช่น พฤติกรรมการบริโภคอาหารเดิมเป็นประจำ สารพิษตกค้างในผักผลไม้ ความเครียดเรื้อรัง การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ การพักผ่อนไม่เพียงพอ และการรับประทานยาบางชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) ยาแก้ปวด แก้อักเสบกลุ่ม NSAIDs

แล้วอย่างนี้จะมีวิธีดูแลตัวเองและคนที่เรารักให้แข็งแรงได้อย่างไรบ้าง โปรติดตามตอนต่อไปเร็วๆนี้ค่ะ

เอกสารอ้างอิง

https://cellsciencesystems.com/education/research/inflammatory-symptoms-immune-system-and-food-intolerance-one-cause-many-symptoms/
Stewart A, Pratt-Phillips S, Gonzalez L. Alterations in Intestinal Permeability: The Role of the “Leaky Gut” in Health and Disease. Journal of Equine Veterinary Science. 2017;52:10-22.
Fasano A. Leaky Gut and Autoimmune Diseases. Clinical Reviews in Allergy & Immunology. 2011;42(1):71-78.
Eske J, Saurabh (Seth) Sethi M. Leaky gut syndrome: What it is, symptoms, and treatments [Internet]. Medical News Today. 2019 [cited 12 October 2019]. Available from: https://www.medicalnewstoday.com/articles/326117.php
Marcelo Campos M. Leaky gut: What is it, and what does it mean for you? – Harvard Health Blog [Internet]. Harvard Health Blog. 2019 [cited 12 October 2019]. Available from:
 https://www.health.harvard.edu/blog/leaky-gut-what-is-it-and-what-does-it-mean-for-you-2017092212451
Dixon H. Treatment of Delayed Food Allergy Based on Specific Immunoglobulin G Rast Testing. Otolaryngology–Head and Neck Surgery. 2000;123(1):48-54.
https://www.glutenfreesociety.org/using-the-right-lab-test-to-identify-food-allergies/
https://www.functionalnutritionanswers.com/what-is-the-best-food-sensitivity-test/