Thai Superfood หาซื้อง่าย ช่วยเพิ่มภูมคุ้มกัน ทำอาหารก็อร่อย

Superfood ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน แบบไทยๆหาซื้อหาทานง่าย ราคาไม่แพงแถมคุณประโยชน์แบบจัดเต็ม

 

ในช่วงที่ต้องกักตัวอยู่แต่ในบ้าน ร้านอาหารที่ไหนก็ปิด หรือเปิดให้เฉพาะส่วนที่เป็นเดริเวอรี่เท่านั้น ทำให้การเลือกรับประทานอาหารเพื่อให้ได้สารอาหารที่ต้องการถูกจำกัดไปมาก แต่วันนี้เราจะมาแนะนำ superfood แบบไทยหาทานง่ายราคาไม่แพง และเน้นเฉพาะตัวที่มีงานวิจัยเป็นที่ยอมรับ ว่าสามารถเพิ่มหรือกระตุ้นการทำงานของภูมิคุ้มกัน ช่วยป้องกันหรือยับยั้งเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย และมีส่วนช่วยต้านอนุมูลอิสระดังนี้

 

1 กระเทียม : มีงานวิจัยมากมายระบุถึงสารสำคัญในกระเทียมจะเกิดขึ้นเมื่อมีการบดกระเทียมหรือการทุบกระเทียมเพื่อไปกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ Allinase เปลี่ยน Alliin ให้เป็น Allicin มีคุณสมบัติกระตุ้นให้เกิดการเพิ่มจำนวนเซลล์ ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย และลดระดับคลอเรสเตอรอลในเลือด

2 พริก : มีสาร Capsaicin ช่วยต่อต้านอนุมูนอิสระ สร้างสารแห่งความสุข สร้างภูมิต้านทานให้แข็งแรง บรรเทาอาการหวัด ช่วยสลายลิ่มเลือดและลดความเสี่ยงโรคหัวใจ

 

3 หอมแดง : น้ำมันหอมระเหยในหอมแดง ทำให้มีรสชาติเผ็ดร้อน มีส่วนช่วยต้านการอักเสบ ต้านเชื้อแบคทีเรีย และต้านอนุมูลอิสระ สารที่ทำให้เกิดกลิ่นในหอมแดงล้วนมีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น สารโพรพินไดซันไฟด์ ช่วยลดปริมาณไขมันในร่างกาย หรือ สารโพรพิล-อัลลิลไดซันไฟด์ ช่วยลดระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด

 

4 เห็ดชนิดต่างๆ : เพราะสารสกัดสำคัญอย่าง AHCC และ Beta Glucan ที่มีส่วนเพิ่มภูมิคุ้มกัน กระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาว และป้องกันหวัด อยู่ในเห็ดนั่นเองไม่ว่าจะเป็นเห็ดหอม เห็ดนางฟ้า เห็นภูฏาน หรือเห็ดอื่นๆ

 

ทริปเล็กๆ: ในช่วงกักตัวอยู่บ้านกันนี้หากมีเวลาลองทำเมนูต้มยำเห็ดหลากชนิดดู เพราะสามารถใส่สมุนไพรอันมีประโยชน์ต่อร่างกายแทบทุกชนิด แล้วยังอร่อยอีกด้วยค่ะ

นอกจากนี้ยังมีกลุ่มผักใบเขียวเช่น ผักโขม บล็อกโคลี เป็นต้น และผักผลไม้ตามฤดูกาลที่หลากหลายอุดมไปด้วยแร่ธาตุและวิตามินซี เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของภูมิคุ้มกันและทำให้ร่างกายแข็งแรงอีกด้วย

 

 

อ้างอิง

Groppo FC, Ramacciato JC, Motta RH, Ferraresi PM, Sartoratto A. Antimicrobial activity of garlic against oral streptococci. Int J Dent Hyg. 2007 May; 5(2):109-15

Ghazanfari T, Hassan ZM, Khamesipour A. Enhancement of peritoneal macrophage phagocytic activity against Leishmania major by garlic (Allium sativum) treatment. J Ethnopharmacol. 2006 Feb 20; 103(3):333-7.

Okada Y, Tanaka K, Sato E, Okajima H. Kinetic and mechanistic studies of allicin as an antioxidant. Org Biomol Chem. 2006 Nov 21; 4(22):4113-7.

ตติยา โชคบุญเปี่ยม. (2550). การศึกษาการทำให้สารแคปไซซินในพริกบริสุทธิ์. ปัญหาพิเศษวิทยาศาสตรบัณฑิต สาย วิชาวิทยาศาสตร คณะศิลปศาสตรและวิทยาศาสตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

https://www.honestdocs.co/the-benefits-of-shallots

Barros L, Cruz T, Baptista P, Estevinho LM, Ferreira IC 2008. Wild and commercial mushrooms as
source of nutrients and nutraceuticals. Food Chem Toxicol 46:2742-7.

Julia J. Volman, Julian D. Ramakers, Jogchum Plat 2008. Dietary modulation of immune function by
β-glucans. Physiol Behav94:276-84.