Food Sensitivity หรือการแพ้อาหารแบบช้าๆ รักษาหาย ป้องกันได้ (ตอนจบ)

Food Sensitivity หรือการแพ้อาหารแบบช้าๆ  รักษาหาย ป้องกันได้  (ตอนจบ)

 

วิธีที่ดีที่สุดและเจาะจงการรักษาได้ไวคือ การตรวจเลือดหาสารก่อภูมิแพ้แอบแฝง (Food specific IgG) เพื่อดูว่า มีภูมิแพ้แฝงต่ออาหารชนิดใดบ้าง เพื่อเป็นแนวทางในการแนะนำอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงหรืองดไปก่อนสักช่วงระยะหนึ่งตามคำแนะนำของแพทย์

 

เปลี่ยนโภชนาการ โดยรับประทานอาหารให้หลากหลาย หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูป ลดการบริโภคแป้งและน้ำตาล เพิ่มการรับประทานอาหารที่มีเส้นใยไฟเบอร์ เช่น พืชผักใบเขียวและผลไม้ไม่หวาน เพื่อช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบทางเดินอาหาร

การเลิกสูบบุหรี่ การงดดื่มแอลกอฮอล์ การลดความเครียด เนื่องจากความเครียดสามารถกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมน Cortisol ออกมา ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการอักเสบของเซลล์ลำไส้ได้

 

การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพราะช่วงเวลาที่เรานอนหลับสนิทจะเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายหลั่ง Growth hormone ออกมาซ่อมแซมทุกเซลล์ในร่างกายได้ดีที่สุด

 

ใช้ยาสมเหตุผล ลดการใช้ยาพร่ำเพรื่อจากการเจ็บป่วยเล็กน้อย เช่น ลดการใช้ยาปฏิชีวนะในโรคหวัดเจ็บคอ โรคท้องเสีย และแผลเลือดออก

 

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อลำไส้ เช่น จุลินทรีย์ดีที่มีประโยชน์ต่อลำไส้ (Probiotic) เช่น จุลินทรีย์ตระกูล Lactobacillus sp. หรือตระกูล Bifidobacterium sp. ซึ่งจะช่วยเกื้อกูลจุลินทรีย์ดีและทำลายเชื้อก่อโรคในลำไส้ นอกจากนี้ การรับประทานอาหารจำพวกกล้วย หน่อไม้ฝรั่ง กระเทียม แก้วมังกร ต้นหอม และมะเขือเทศ ซึ่งอุดมไปด้วยสาร Inulin Fructooligosaccharides (FOS) และ Xylo-oligosaccharides (XOS) จะช่วยเสริมให้จุลินทรีย์ดีในร่างกายเจริญเติบโตแข็งแรงสมบูรณ์ เพราะเป็นอาหารที่จุลินทรีย์ชอบ

 

อาหารเสริมบางชนิด ช่วยซ่อมแซมและลดการอักเสบของเยื่อบุผนังลำไส้ได้เช่น กรดอะมิโนอาร์จีนีน (Arginine) กรดอะมิโนกลูตามีน (Glutamine)  แร่ธาตุสังกะสี (Zinc) ซีลีเนียม (Selenium) และวิตามินอี (Vitamin E) จัดเป็นสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกายที่มีความปลอดภัยสูง

 

แม้ว่าสมอง หัวใจ ตับ ไตและปอดจะสำคัญกับเรามากขนาดไหน แต่ ลำไส้ก็เป็นอวัยวะที่เราไม่ควรละเลย เพราะคือทางผ่านของสารต่างๆเพื่อส่งไปเลี้ยงอวัยวะสำคัญๆเหล่านั้น จัดว่าเป็นอวัยวะที่สำคัญไม่แพ้กัน ปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยมากมายมายที่ค้นพบว่า “ลำไส้” มีระบบประสาทที่ซับซ้อนรองจากสมอง จนได้รับการขนานนามว่าเป็น “สมองที่ 2” เนื่องจากลำไส้สามารถสามารถทำงานได้ด้วยตัวมันเอง ตัดสินใจเองโดยอัตโนมัติ และไม่ต้องให้สมองสั่งการว่าจะทำอะไร การทำงานที่เป็นอิสระของลำไส้ เรียกว่า ระบบประสาทลำไส้ (enteric nervous system–ENS) ซึ่งเป็นระบบย่อยในระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system–CNS) ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของกระเพาะอาหารและลำไส้เพียงอย่างเดียว ปลดปล่อยฮอร์โมนต่าง ๆ ที่ไปมีผลต่ออวัยวะทั้งหมดของร่างกาย รวมถึงเชื่อมโยงการทำงานกับระบบภูมิคุ้มกัน  จึงเห็นได้ว่า หากเราอยากมีอายุที่ยืนยาวใต้การมีสุขภาพที่ดี การดูแลสุขภาพลำไส้จึงสำคัญไม่แพ้กัน

 

 

เอกสารอ้างอิง

https://cellsciencesystems.com/education/research/inflammatory-symptoms-immune-system-and-food-intolerance-one-cause-many-symptoms/
Stewart A, Pratt-Phillips S, Gonzalez L. Alterations in Intestinal Permeability: The Role of the “Leaky Gut” in Health and Disease. Journal of Equine Veterinary Science. 2017;52:10-22.
Fasano A. Leaky Gut and Autoimmune Diseases. Clinical Reviews in Allergy & Immunology. 2011;42(1):71-78.
Eske J, Saurabh (Seth) Sethi M. Leaky gut syndrome: What it is, symptoms, and treatments [Internet]. Medical News Today. 2019 [cited 12 October 2019]. Available from: https://www.medicalnewstoday.com/articles/326117.php
Marcelo Campos M. Leaky gut: What is it, and what does it mean for you? – Harvard Health Blog [Internet]. Harvard Health Blog. 2019 [cited 12 October 2019]. Available from:
 https://www.health.harvard.edu/blog/leaky-gut-what-is-it-and-what-does-it-mean-for-you-2017092212451
Dixon H. Treatment of Delayed Food Allergy Based on Specific Immunoglobulin G Rast Testing. Otolaryngology–Head and Neck Surgery. 2000;123(1):48-54.
https://www.glutenfreesociety.org/using-the-right-lab-test-to-identify-food-allergies/
https://www.functionalnutritionanswers.com/what-is-the-best-food-sensitivity-test/