รู้ได้อย่างไรว่าเรามีปฏิกิริยาผิดปกติต่ออาหาร??

รู้ได้อย่างไรว่าเรามีปฏิกิริยาผิดปกติต่ออาหาร??

ปลอดเชื้อ ปลอดภัย มั่นใจในศูนย์การแพทย์แคลร์

หลายคนอาจสับสนว่า ภูมิแพ้อาหารแบบทั่วไป (Food Allergy) และปฏิกิริยาผิดปกติต่ออาหารแบบแฝง (Hidden or Adverse food reaction) ต่างกันอย่างไร วันนี้เรามีคำตอบค่ะ

♦️Food Allergy หรือ ภาวะแพ้อาหาร
– เกิดจากระบบภูมิต้านทานในบางคน สร้างแอนติบอดี้ชนิด IgE ออกมาเพื่อทำหน้าที่ต่อสู้กับอาหารบางชนิดที่ทานเข้าไป (เพราะคิดว่าอาหารที่กินเข้าไปนั้น เป็น allergen หรือสารก่อภูมิแพ้)
– อาการจากการแพ้อาการมักเกิดทันทีหรือภายใน1ชั่วโมง
– อาการที่พบได้บ่อย ได้แก่ ผื่นคัน ลมพิษ น้ำมูกไหล บวมที่ลิ้นหรือริมฝีปาก อาเจียน โดยรายที่อาการรุนแรง จะเรียกว่าภาวะ anaphylaxis ซึ่งมีอาการบวมรุนแรงที่บริเวณทางเดินหายใจจนทำให้หายใจลำบาก, ความดันโลหิตลดลงหรือภาวะช็อก, หมดสติ และบางครั้งอาจเสียชีวิตได้
– อาหารที่พบบ่อย เช่น นม ไข่ ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ข้าวสาลี วอลนัต เม็ดมะม่วงหิมพานต์ สัตว์ทะเล ปลาและกุ้ง

♦️ ปฏิกิริยาผิดปกติต่ออาหาร (Adverse food reaction, Food sensitivity, Food intolerance)

-มีความแตกต่างจาก food allergy โดยมักสัมพันธ์กับภาวะลำไส้รั่ว (leaky gut) กล่าวคือ เมื่อทานอาหารบางอย่างเข้าไปและเกิดการรั่วไหลของอนุภาคอาหารที่ยังไม่ย่อยสมบูรณ์ผ่านรูรั่วของผนังลำไส้เข้าสู่กระแสเลือด ร่างกายถือว่าอนุภาคเหล่านั้นเป็นสิ่งแปลกปลอม (Antigen) จึงสร้างแอนติบอดี้ชนิด IgG ขึ้นมา เมื่อแอนติบอดี้เจอกับแอนติเจนจะก่อให้เกิดกระบวนการอักเสบของระบบทางเดินอาหารจนเกิดภาวะลำไส้อักเสบ ถ้าแอนติเจนมีปริมาณมากจะล่องลอยไปในกระแสเลือดและสะสมตามเนื้อเยื่อต่างๆ ก่อให้เกิดการอักเสบในเนื้อเยื่อนั้นๆ
โดยกระบวนการนี้ใช้เวลา 2-4 สัปดาห์หลังจากทานอาหารเหล่านั้น จึงยังไม่แสดงอาการผิดปกติทันทีเหมือน food allergy แบบ IgE แต่เมื่อเราทานอาหารชนิดเดิมนั้นอีกครั้งจึงจะเกิดอาการแสดงซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดภายใน 72 ชั่วโมง

– ถ้าเรายังบริโภคอาหารที่ร่างกายเกิดปฏิกิริยา นานเข้าจะทำให้เนื้อเยื่อภายในลำไส้และระบบต่างๆ อักเสบมากขึ้น จนเริ่มแสดงอาการต่างๆ เช่น ท้องอืด ท้องผูก ปวดท้องโดยไม่มีสาเหตุ ท้องเสีย ลำไส้แปรปรวน ปวดหัวเรื้อรัง อ่อนเพลีย ไมเกรน จาม หอบหืด คัดจมูก ครั่นเนื้อครั่นตัว ขอบตาดำหรือมีถุงใต้ตา และมีอาการทางอักเสบผิวหนังบางอย่างเช่น สิว ลมพิษ ผื่นคัน ผิวบวมน้ำ และอาจเกี่ยวข้องกับภาวะโรคภูมิทำลายตัวเองหรือ Autoimmune disease s หลายชนิด

ในปัจจุบันเราสามารถตรวจปฏิกิริยาผิดปกติต่ออาหารได้ง่ายและสะดวกขึ้นด้วยการเจาะเลือดตรวจ ซึ่งสามารถตรวจหา IgG ในอาหารได้ถึง 132 ชนิด ครอบคลุมอาหารในกลุ่มหลัก ๆ เช่น กลุ่มผลิตภัณฑ์จากนม ไข่ ธัญพืชกลุ่มมีกลูเตนและกลุ่มไม่มีกลูเตน ผัก ผลไม้ ข้าวสาลี ปลา อาหารทะเล เนื้อสัตว์ สมุนไพรและเครื่องเทศ ถั่วและพืชเมล็ด สารกันเสียในอาหาร รวมถึงการตรวจ zonulin ( โซนูลิน) ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่จะหลั่งออกมาเสื่อมีภาวะลำไส้รั่ว ( leaky gut)

หลังจากได้รับผลการทดสอบแล้ว แพทย์จะนำผลที่ได้มาปรับใช้กับคนไข้เพื่อรักษาและแนะนำแนวทางการทานอาหารที่เหมาะสม รวมถึงการให้อาหารเสริมเพื่อปรับสมดุลและฟื้นฟูสภาพลำไส้ พบว่าส่วนใหญ่เมื่องดอาหารที่ร่างกายต่อต้านและทำการฟื้นฟูลำไส้ไปสักระยะ อาการต่างๆ จะดีขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าระบบภูมิคุ้มกันและสุขภาพทั่วไปก็ดีขึ้นอีกด้วย

 

สอบถามข้อมูลและทำนัดกับ KLAIRĒ MEDICAL CENTER ได้ที่

? Line@ ID: @klaireclinic หรือคลิก https://line.me/R/ti/p/%40klaireclinic
? Email: info@klairemedicalcenter.com
☎️ 02-000-7135, 02-227-0600, 087-7730085
? https://klairemedicalcenter.com/
⏰ Mon – Fri: 8.00 AM – 17.00 PM, Sat: 8.00AM – 12.00 noon
?Location: https://maps.app.goo.gl/ZMLhMb1nRuSt3UB5A
? Live Smart Get Strong Better Longevity

*** บทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของบจก. เอ็ม.ดี. เฮลท์ แอนด์ บิวตี้ ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์โดยไม่ได้รับอนุญาต

#wellnesscenter #wellnessclinic #antiagingclinic #antiagingcenter #antiagingtreatment #antiaging #antiagingbangkok #wellnesstourism #wellness #wellnessjourney #medicalwellness #foodallergy #foodreaction #foodsensitivity