Hormone กับการออกกำลังกาย

เมื่อมนุษย์เรามีอายุมากขึ้น สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามธรรมชาติคือความเสื่อมทางด้านกายภาพ ( Physical change) และความเปลี่ยนแปลงด้านฮอร์โมน ( Hormonal change ) ซึ่งนอกจากอายุแล้ว ปัจจัยภายนอกในสภาพสังคมปัจจุบันที่มีทั้งมลภาวะ สารปนเปื้อนในอาหารและน้ำดื่ม กัมภาพรังสีและคลื่นชนิดต่างๆในอากาศ รวมถึงปัจจัยภายในคือ life style การขาดการพักผ่อนและความเครียดจากการทำงาน เหล่านี้ยิ่งเร่งให้กระบวนการแห่งความเสื่อมของร่างกายเกิดขึ้นได้ง่ายและเร็วยิ่งขึ้น โดยผ่านกระบวนการที่มีพื้นฐานมาจากความไม่สมดุลของการทำงานของร่างกายโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านฮอร์โมน ( Hormonal imbalance ) และการสะสมของสารอนุมูนอิสระ ( Free radicals )ในร่างกาย

มีความเชื่อมาอย่างยาวนานว่า การออกกำลังกายสามารถทำให้สุขภาพดี ชะลอความแก่และทำให้อายุยืนยาวได้ แต่ความเป็นจริงกลับพบว่า ในคนบางกลุ่มหรือบางภาวะ การออกกำลังกายกลับทำให้สุขภาพแย่ลง แก่เร็ว ไม่มีแรง หงุดหงิดง่าย นอนไม่หลับ น้ำหนักตัวเพิ่มหรือขึ้นๆลงๆ บางคนมีอาการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อและข้อต่อ สาเหตุเพราะการออกกำลังที่ทำอยู่นั้นไม่เหมาะสมกับสภาพร่างกายของตนเอง ( improper exercise ) นอกจากนั้นการออกกำลังกายบางประเภท เช่นstimulating หรือ cardio exercise มากเกินไป กลับทำให้ร่างกายเกิดความเครียด ( Stress ) และฮอร์โมนที่ทำให้ร่างกายเกิดการเสื่อมสลาย ( Catabolic hormone ) มากขึ้น จึงยิ่งทำให้ร่างกายเสื่อมเร็วกว่าปกติและเป็นผลเสียต่อร่างกายมากกว่าผลดีอีกด้วย