ผลกระทบปฏิกิริยาอาหารแบบแฝงกับเด็ก ตอนที่ 2

นอกจากนี้การเกิดภาวะอักเสบอย่างเรื้อรังที่เซลล์ของลำไส้เอง ทำให้เอนไซม์ที่ใช้ย่อยอาหารผลิตออกมาได้น้อย กระบวนการย่อยและดูดซึมสารอาหารทำไม่ได้เต็มที่ อาหารที่รับประทานเป็นส่วนมากไม่สามารถย่อยและดูดซึมไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซ้ำร้ายบางรายอาจมีอาการท้องอืด ท้องผูก ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียนเมื่อทานอาหารที่มีปฏิกิริยาเข้าไป และทำให้ยิ่งทานอาหารได้ปริมาณน้อยลง อาจส่งผลเสียต่อการเจริญเติบโตในเด็กได้

นอกจากนี้จากการศึกษาพบว่ายังสามารถส่งผลกระทบต่อเด็กหรือผู้ใหญ่ที่เป็นโรคสมาธิสั้น​ เพราะจะยิ่งทำให้รู้สึกไม่สบายเนื้อไม่สบายตัว และรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันได้​จนน่ากังวล

และพบว่า​ งานวิจัยในต่างประเทศ​  ใช้แนวทางการควบคุมดูแล​อาหารที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยากับร่างกายแอบแฝง​ร่วมกับการรักษาชนิดอื่นๆ เพื่อช่วย​บรรเทาอาการต่างๆและลดการใช้ยาได้​ จึงมักมีการแนะนำเป็นทางเลือกเสริมสำหรับผู้ปกครองที่กังวลปัญหานี้​ในตัวบุตร

 

เนื่องจากอาการของการเกิดปฏิกิริยาต่ออาหารแบบแฝง (Hidden food reaction) นั้นไม่ได้เกิดขึ้นโดยทันทีทันใด และชัดเจนรุนแรงเหมือนการแพ้อาหาร( Food allergy ) ผู้ป่วยมักไม่ทราบว่าตัวเองว่าอาการที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องกับการรับประทานอาหารเพราะอาการสามารถเกิดกับผู้ป่วยได้ตั้งแต่หลังรับประทานเป็นระดับชั่วโมง หรืออาจเกิดหลังทานไป 72 ชั่วโมง ดังนั้นในรายที่สงสัย การตรวจปฏิกิริยากับอาหารแบบแฝงจึงมีประโยชน์ในการช่วยหาตัวการที่ก่อปัญหา​ สามารถตรวจได้ง่ายจากเลือด​ ส่วนใหญ่ทราบผลภายใน 1 เดือน

หลังจากนั้นแพทย์​จะให้ลองงดรับประทานอาหารที่สงสัยจากการตรวจ พร้อมกับช่วยฟื้นฟูระบบทางเดินอาหาร ผู้ป่วยและผู้ปกครองช่วยสังเกตอาการเพื่อดูว่า อาการดีขึ้นหรือไม่​ เพื่อให้คุณหรือคนที่คุณรักไม่ต้องเผอิญกับอาการผิดปกติที่ชวนหงุดหงิดอีกต่อไป.

 

อ้างอิง

1.Carter, C M, et al. “Effects of a Few Food Diet in Attention Deficit Disorder.” Archives of Disease in Childhood, vol. 69, no. 5, Nov. 1993, pp. 564–568.

2.Nigg, Joel T., and Kathleen Holton. “Restriction and Elimination Diets in ADHD Treatment.” Child and Adolescent Psychiatric Clinics of North America, vol. 23, no. 4, 2014, pp. 937–953., doi:10.1016/j.chc.2014.05.010.

3.Pelsser, L M, and J K Buitelaar. “Favourable Effect of a Standard Elimination Diet on the Behavior of Young Children with Attention Deficit Hyperactivity Disorder (ADHD): A Pilot Study.” Ned Tijdschr Geneeskd, vol. 147, no. 52, 27 Dec. 2003, p. 2612.

4.Pelsser, Lidy M. J., et al. “A Randomised Controlled Trial Into the Effects of Food on ADHD.” European Child & Adolescent Psychiatry, vol. 18, no. 1, 2008, pp. 12–19., doi:10.1007/s00787-008-0695-7.