รู้ได้อย่างไรว่าเรามีภูมิแพ้อาหารแบบแอบแฝงหรือไม่
หลายคนยังคงสับสนว่า ภูมิแพ้อาหารแบบปกติ(Food Allergy)และปฏิกิริยากับอาการแบบแฝง ( Hidden food reaction) ต่างกันอย่างไร จะสังเกตจากอาการอะไร
หลายครั้งเราอาจเคยเห็นใครสักคนมีอาการคันรอบปากหลังทานอาหารบางอย่างเข้าไปทันทีหรือภายใน1ชั่วโมง บางคนอาจมีอาการอาเจียน หายใจไม่ออก และถ้าเผลอทานเข้าไปเยอะๆ อาจทำให้ระบบหายใจล้มเหลวจนเสียชีวิตได้
ซึ่งปฏิกิริยานี้คือ ระบบภูมิต้านทาน (ปกติจะทำหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรค)สร้างภูมิหรือแอนติบอดี้ (antibody ชนิด IgE) ออกมาเพื่อทำหน้าที่ต่อสู้กับอาหารที่เป็นตัวก่อให้เกิดภูมิแพ้ (อาหารที่กินเข้าไปนั้น จะทำหน้าที่เป็น allergen หรือสารก่อภูมิแพ้ในบางคน) หลังจากนั้น ร่างกายจะปล่อยสารเคมีออกมาหลายตัว รวมทั้งสารตัวหนึ่งชื่อ “histamine”กระตุ้นให้เกิดอาการผิดปกติต่อทางเดินหายใจ กระเพาะ และลำไส้ ผิวหนัง ระบบเส้นเลือด และหัวใจ ซึ่งอาการเหล่านั้น ได้แก่ น้ำมูกไหล เสียวที่ลิ้น ริมฝีปาก ปวดท้อง หายใจลำบาก เวลาหายใจมีเสียงดัง แต่ในรายที่มีปฏิกิริยาที่รุนแรง เรียกว่า anaphylaxis ซึ่งสามารถทำอันตรายต่อชีวิตได้ เพราะมีอาการบวมที่บริเวณทางเดินหายใจจนทำให้หายใจลำบาก ความดันโลหิตลดลงหมดความรู้สึกจนเสียชีวิต
จากสถิติที่พบ อาหารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้กะทันหันได้แก่ นม ไข่ ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ข้าวสาลี วอลนัต เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ปลาและกุ้ง
หลายคนเกิดความสับสนระหว่างภูมิแพ้อาหารแบบปกติ( food allergy) และ ปฏิกิริยาอาหารแบบแฝง หรือ ภูมิแพ้อาหารแบบแฝง (Hidden food reaction Hidden food allergies , Delay food sensitivities, Food intolerance or Delayed type food reaction)
อาการของปฏิกิริยาอาหารแบบแฝงามารถทำให้เกิดอาการแสบท้อง (burning) อาหารไม่ย่อย (indigestion) มีลมในท้อง (gas) ถ่ายเหลว (loose stools) ปวดศีรษะ (headache) และมีความเครียดโดยไม่รู้ตัวซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับภูมิต้านทานแบบกะทันหันเลย(IgE) แต่เกิดจากร่างกายแอบสร้างแอนติบอดี้ชนิด IgG ขึ้นมาภายใน 2อาทิตย์หรือภายใน 1 เดือนที่เราทานอาหารเหล่านั้นไป และมักเกี่ยวของกับภาวะ Leaky gut ซึ่งจะยังไม่แสดงอาการผิดปกติในทันที โดยส่วนใหญ่มักจะเกิดอาการภายใน 72 ชั่วโมง แอนติบอดี้ชนิด IgG ที่ร่างกายสร้างขึ้นมา เมื่อเจอกับแอนติเจนของอาหารที่ร่างกายที่มีปฏิกิริยาด้วย จะจับกับแอนติเจนกับอาหารและก่อกระบวนการอักเสบโดยเริ่มที่ระบบทางเดินอาหาร ถ้ามีปริมาณมากจะล่องลอยไปในกระแสเลือดและไปสะสมตามเนื้อเยื่อต่างๆจะค่อยๆก่อให้เกิดการอักเสบในเนื้อเยื่อ เหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป ตราบเท่าที่เรายังบริโภคอาหารที่ร่างกายต่อต้าน นานเข้าจะทำให้เนื้อเยื่อภายในถูกทำลายมากขึ้น จนอาจเป็นเบื้องหลังของอาการน่ากวนใจ เช่น ท้องอืด ท้องผูก ปวดท้องโดยไม่มีสาเหตุแน่ชัด ท้องเสีย ลำไส้แปรปรวน ปวดหัวเรื้อรัง ไมเกรน จาม หอบหืด คัดจมูก ครั่นเนื้อครั่นตัว ขอบตาดำหรือมีถุงใต้ตา และมีอาการทางอักเสบผิวหนังบางอย่างเช่น สิว ลมพิษ ผื่นคัน ผิวบวมน้ำ และอาจเกี่ยวข้องกับภาวะโรคภูมิทำลายตัวเองหลายชนิดโรค celiac disease โรค crohn’s disease เป็นต้น
ในปัจจุบันเราสามารถตรวจปฏิกิริยาอาหารแบบแฝงได้ง่ายขึ้นและสะดวกโดยสามารถตรวจหา IgG ในอาหารได้มากกว่า 132 ชนิด ครอบคลุมอาหารในกลุ่มหลัก ๆ เช่น กลุ่มผลิตภัณฑ์จากนม ไข่ ธัญพืชกลุ่มมีกลูเตนและกลุ่มไม่มีกลูเตน ผัก ผลไม้ ข้าวสาลี ปลา อาหารทะเล เนื้อสัตว์ สมุนไพรและเครื่องเทศ ถั่วและพืชเมล็ด รวมทั้งสารกันเสียในอาหาร
หลังจากได้รับผลการทดสอบแล้ว แพทย์จะนำผลที่ได้มาปรับใช้กับคนไข้เพื่อเลือกกินอาหารที่เหมาะสมและ ลดอาหารที่ส่งเสริมอาการในระยะยาว ซึ่งพบว่าผู้ที่มีอาการดังกล่าวจากปฏิกิริยาอาหารแบบแฝงมีอาการดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเมื่อหยุดอาหารที่ร่างกายต่อต้านไประยะหนึ่ง เพราะสุขภาพที่ดี ควรเริ่มต้นดูและหาสาเหตุจากภายใน
REFERENCE
- Wachholz PA, Durham SR. Mechanisms of immunotherapy: IgG revisited. Curr Opin Allergy Clin Immunol. 2004;4:313–8. [PubMed]
2. Noh G, Ahn HS, Cho NY, et al. The clinical significance of food specific atopic dermatitis. Pediatr Allergy Immunol. 2007;18:63–70. [PubMed]
3. Tomicic S, Norrman G, Falth-Magnusson K, et al. High levels of IgG4 antibodies to foods during infancy are associated with tolerance to corresponding foods later in life. Pediatr Allergy Immunol.2008;20:35–41. [PubMed]
4. Burks AW, Tang M, Sicherer S, et al. ICON: food allergy. J Allergy Clin Immunol. 2012;129:906–20. [PubMed]
5. Sampson HA, Aceves S, Bock SA, et al. Food allergy: a practice parameter update – 2014. J Allergy Clin Immunol. 2014;134:1016–25. [PubMed]