ความสำคัญของโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone)

โกรทฮอร์โมน คือ ฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ถูกผลิตจากต่อมใต้สมอง มีหน้าที่สำคัญทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ โดยมีบทบาทที่แตกต่างกัน

♦️ในเด็ก
โกรทฮอร์โมน ทำหน้าที่สร้างความเจริญเติบโตให้เด็ก มีส่วนช่วยเพิ่มกล้ามเนื้อและกระดูก เด็กที่มีความผิดปกติของโกรทฮอร์โมนทั้งในแง่การสร้างและการตอบสนองจะมีพัฒนาการที่ผิดปกติ รูปร่างเตี้ย ตัวเล็ก ไม่มีกล้ามเนื้อ อาจมีภาวะอ้วนจากการสะสมไขมันที่ลำตัวมาก เด็กชายมีอวัยวะเพศเล็ก เสียงแหลมคล้ายเด็กผู้หญิง รายที่รุนแรงอาจมีใบหน้าไม่สมส่วน และอาจพบภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ได้ อย่างไรก็ตามพบว่า เด็กเหล่านี้จะมีสติปัญญาที่ปกติเหมือนเด็กทั่วไป

♦️ในผู้ใหญ่
โกรทฮอร์โมนทำหน้าที่สำคัญหลายอย่าง ได้แก่
– ช่วยกระบวนการซ่อมแซมร่างกาย
– ช่วยเพิ่มมวลและความสามารถของกล้ามเนื้อ
– ควบคุมการเผาผลาญพลังงาน
– ช่วยลดการสะสมของไขมัน
– ช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกัน
– ช่วยในการฟื้นตัวจากการบาดเจ็บหรือการเจ็บป่วย
– ชะลอความแก่ชรา

อาการของผู้ใหญ่ที่ขาดโกรทฮอร์โมน
– ผมร่วง ผมบาง ผมหงอก
– ผิวหนังเหี่ยวย่น มีริ้วรอยก่อนวัย
– กล้ามเนื้อฝ่อลีบ ไม่มีแรง
– มีไขมันสะสมที่ลำตัว มองดูคล้ายผลแอปเปิ้ล
– เหนื่อยง่าย ไม่กระฉับกระเฉง
– สมรรถภาพทางเพศถดถอย
– เจ็บป่วยง่าย ติดเชื้อง่าย
– ฟื้นจากการบาดเจ็บได้ช้า แผลหายช้า
– ความจำไม่ดี นอนไม่สนิท

✅ตามปกติโกรทฮอร์โมนจะผลิตมากในช่วงวัยเด็ก-วัยรุ่น และจะค่อยๆลดลงเมื่ออายุ 25 ปี อย่างไรก็ตาม เราสามารถเสริมให้โกรทฮอร์โมนของเรามีการผลิตที่ดีได้ ด้วยการปฏิบัติง่ายๆ ดังนี้
– การนอน : นอนไม่เกิน 4 ทุ่ม เพราะเป็นช่วงที่ร่างกายจะสามารถผลิตโกรทฮอร์โมนได้มากที่สุดและควรนอนไม่ต่ำกว่า 7-8 ชั่วโมงต่อคืน
– ออกกำลังกาย : การออกกำลังกายช่วยให้โกรธฮอร์โมนผลิตได้ดีขึ้น โดยเฉพาะการออกกำลังในระดับความเข้มข้นสูง (High intensity exercise) เช่น การยกน้ำหนัก, การวิ่งเร็ว, การฝึก interval หรือ circuit training ทำให้ไขมันในร่างกายลดลงและการออกกำลังกายประเภทนี้จะทำให้ร่างกายหลั่งโกรทฮอร์โมนออกมาเพื่อซ่อมแซมกล้ามเนื้อ
– การทานอาหาร : ลดการทานอาหารที่มีน้ำตาลและแป้งสูงเพราะอิซูลินจะไปยับยั้งการผลิตโกรทฮอร์โมน
– การทานอาหารแบบ Intermittent Fasting หรือ IF พบว่าสามารถเพิ่มการหลั่งโกรทฮอร์โมนในระยะสั้นได้ถึง 2-3 เท่าจากปกติ
– การลดไขมันในร่างกาย : พบว่า มวลไขมันในร่างกายที่ลดลง ทำให้การผลิตโกรทฮอร์โมนได้ดีขึ้น
– การลดความเครียด : ความเครียดทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล ซึ่งจะไปยับยั้งการหลั่งโกรทฮอร์โมน
– งดการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
– การทานอาหารเสริมที่ช่วยส่งเสริมการผลิตโกรทฮอร์โมน เช่น Arginine, Glutamine, Ornitine,
อย่างเหมาะสม

อย่างไรก็ตาม ภาวะขาดโกรทฮอร์โมนมีความซับซ้อนในการหาสาเหตุและการรักษาจึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อการรักษาที่เหมาะสมตามแต่ละบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย

บทความโดย แพทย์หญิงพัฒศรี เชื้อพูล
แพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย

สอบถามข้อมูลและทำนัดกับ KLAIRĒ MEDICAL CENTER ได้ที่
?Line@ ID: @klaireclinic
หรือคลิก https://line.me/R/ti/p/%40klaireclinic
☎️ 02-000-7135, 02-227-0600, 087-7730085
? https://klairemedicalcenter.com/
⏰ Mon – Fri: 8.00 AM – 17.00 PM, Sat: 8.00AM – 12.00 noon
? Live Smart Get Strong Better Longevity
*** บทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของบจก. เอ็ม.ดี. เฮลท์ แอนด์ บิวตี้ ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์โดยไม่ได้รับอนุญาต