พิษจากโลหะหนัก อันตรายใกล้ตัวที่ควรใส่ใจ ?
♦️โลหะหนักคือโลหะที่มีความถ่วงจำเพาะมากกว่าน้ำ 5 เท่าขึ้นไป ได้แก่ ดีบุก ทองแดง สังกะสี ตะกั่ว ปรอท สารหนู และ แคดเมี่ยม มีทั้งเกิดเองตามธรรมชาติและเกิดจากการปนเปื้อนโดยกิจกรรมหรือวัตถุที่มนุษย์ทำขึ้น พบว่า ในปัจจุบันมีการสะสมของโลหะหนักมากขึ้นทั้งในดิน, น้ำ, พืช และสิ่งมีชีวิต เนื่องจากการขยายตัวของเมือง, การเติบโตของโรงงานอุตสาหกรรม, การเพิ่มขึ้นของยานพาหนะ รวมถึงควันไฟและมลภาวะต่างๆ
โลหะหนักที่พบบ่อยๆ ว่าเกิดการสะสมในร่างกายมนุษย์จนเกิดพิษ ได้แก่
– ตะกั่ว
– ปรอท
– แคดเมี่ยม
– สารหนู
♦️อาการของโลหะหนัก
ขึ้นกับชนิดและปริมาณที่สะสมในร่างกาย โดยมีอาการทั่วไป ได้แก่
– อ่อนเพลีย
– ปวดศรีษะ
– ปวดท้อง
– คลื่นไส้อาเจียน
– มือเท้าชา
– ในเด็ก อาจมีผลต่อการสร้างกระดูก
– สตรีมีครรภ์ อาจมีความเสี่ยงการแท้งบุตรหรือคลอดก่อนกำหนด
♦️อาการเฉพาะของโลหะหนักแต่ละชนิด คือ
– พิษจากตะกั่ว : สมองช้า การมองเห็นหรือการได้ยินบกพร่อง พูดติดขัด เดินเซ
– พิษจากปรอท : นอนไม่หลับ อารมณ์ก้าวร้าว กระวนกระวาย ความจำเสื่อม โลหิตจาง
– พิษจากแคดเมี่ยม : ไข้ ปวดกล้ามเนื้อ หายใจติดขัด
– พิษจากสารหนู : ท้องเสีย ใจสั่น ตะคริว ผิวหนังแดงหรือมีตุ่มตามร่างกาย
♦️สาเหตุของการสะสมโลหะหนัก
โลหะหนักสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายช่องทาง ทั้งทางการกิน, การหายใจ และการสัมผัส โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการสะสมโลหะหนัก คือ การรับหรือสัมผัสบ่อยๆ ติดต่อกันเป็นระยะเวลายาวนาน พบว่าการสัมผัสระยะสั้นๆ เพียงชั่วครั้งชั่วคราวไม่เพิ่มความเสี่ยงของการสะสมโลหะหนัก
♦️ปัจจัยเสี่ยงของการสะสมโลหะหนัก ได้แก่
– ผู้ที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมหรืออาศัยใกล้กับโรงงานอุตสาหกรรม
– ผู้ที่มีการใช้หรือสัมผัสยาฆ่าแมลง, ยาฆ่าวัชพืช
– การรับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อน เช่น อาหารทะเล ผัก ผลไม้
– การดื่มน้ำที่มีการปนเปื้อน
– การใช้ภาชนะที่ทำจากโลหะบางชนิด
– สูบบุหรี่หรือสูดดมควันบุหรี่เป็นประจำ
– อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีเขม่าควันดำเป็นประจำ
– รับประทานอาหารแปรรูป เป็นประจำ เช่น ปลากระป๋อง น้ำอัดลม ขนมกรุบกรอบ
การสะสมของโลหะหนัก นอกจากทำให้เกิดพิษแล้วยังมีผลต่อระบบต่างๆ ของร่างกายหลายอย่างซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคเรื้อรังอื่นๆ ตามมาอีกด้วย จากที่กล่าวมา การสะสมและพิษจากโลหะหนักไม่ใช่เรื่องไกลตัว สิ่งสำคัญที่สุดคือการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ และการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง หากมีความเสี่ยงหรือมีอาการที่สงสัยพิษจากโลหะหนัก ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจระดับของโลหะหนักในร่างกาย และทำการรักษาก่อนที่จะรุนแรง ที่สำคัญคือการหาสาเหตุของปัญหา เพื่อป้องกันทั้งตัวคุณและคนที่อยู่ใกล้ให้ปลอดภัยค่ะ
บทความโดย แพทย์หญิงพัฒศรี เชื้อพูล
แพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย
สอบถามข้อมูลและทำนัดกับ KLAIRĒ MEDICAL CENTER ได้ที่
?Line@ ID: @klaireclinic
หรือคลิก https://line.me/R/ti/p/%40klaireclinic
☎️ 02-000-7135, 02-227-0600, 087-7730085
? https://klairemedicalcenter.com/
⏰ Mon – Fri: 8.00 AM – 17.00 PM, Sat: 8.00AM – 12.00 noon
? Live Smart Get Strong Better Longevity
*** บทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของบจก. เอ็ม.ดี. เฮลท์ แอนด์ บิวตี้ ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์โดยไม่ได้รับอนุญาต