DNA Analysis

DNA Analysis ทางเลือกใหม่ของคนที่อยากรู้จักตัวเองมากยิ่งขึ้น

อย่างที่โบราณว่าไว้ “รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง” จะดีแค่ไหนถ้าคุณรู้จักตัวเองมากขึ้นถึงระดับ DNA

DNA ตรวจครั้งเดียว ใช้เป็นแผนที่ชีวิตได้ตลอดไป

DNA คือรหัสพันธุกรรมที่ติดตัวเรามาตั้งแต่เกิดจนตาย รหัส DNA เป็นเสมือนรหัสของโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาโดยมีลักษณะเฉพาะของแต่ละคนซึ่งอาจมีทั้งจุดเด่นที่เป็นประโยชน์และข้อบกพร่องที่เป็นอันตราย ดังนั้นถ้าเรารู้ว่าร่างกายตัวเองถูกโปรแกรมมาแบบไหน ก็จะเป็นการง่ายในการใช้ชีวิตในอนาคต เราจึงสามารถวางแผนชีวิต กำหนดอาชีพ เลือก life style รวมถึงการดูแลสุขภาพและการปฎิบัติตัวเพื่อหลีกเลี่ยงจากโรคร้ายต่างๆได้โดยไม่ต้องพึ่งโหราศาสตร์

จะดีแค่ไหน หากเราสามารถรู้ล่วงหน้าว่า เรามีความถนัดแบบไหน ควรเรียนหรือทำอาชีพอะไร มีจุดอ่อน-จุดแข็งด้านไหน สามารถนำมาวางแผนชีวิตให้กับตนเอง รวมถึงบุตรหลานได้เหมือนมีแผนที่นำทางชีวิต เราสามารถทราบได้ว่า ในอนาคตจะมีโอกาสที่จะเป็นมะเร็งหรือโรคร้ายบางอย่างได้มากน้อยแค่ไหน เพื่อการเตรียมความพร้อมและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ห่างไกลจากความเสี่ยงนั้น นอกจากนั้นเรายังสามารถทราบได้อีกว่า อาหารหรือยาชนิดไหนที่ร่างกายต้องการหรือชนิดไหนไม่เข้ากับร่างกายของเรา ข้อมูลทั้งหลายดังที่กล่าวมานี้สามารถทราบด้วยการตรวจวิเคราะห์รหัสทางพันธักรรมหรือ DNS Analysis นั่นเอง

ที่ศูนย์การแพทย์แคลร์ นอกจากการทำ DNA Analysis แล้ว แพทย์ยังสามารถให้คำแนะนำในเรื่องการดูแลสุขภาพที่เข้ากับลักษณะทางพันธุกรรม การปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการเกิดโรคร้ายหรือลดความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งตามกรรมพันธุ์ การให้คำแนะนำทางโภชนาการ รวมถึงการใช้ยาหรืออาหารเสริมที่เหมาะสมกับตนเอง

DNA Analysis เหมาะกับผู้ที่มีความต้องการทราบข้อมูลดังนี้

  • การตอบสนองต่ออาหารชนิดต่างๆ ณวมถึงโอกาสของการแพ้อาหารบางชนิด
  • คำแนะนำด้านการโภชนาการ
  • ความแข็งแรง, ความทนทาน และการพื้นตัวของร่างกายจากกีฬา
  • ความถนัดทางกีฬา รวมถึงโอกาสเกิดการบาดเจ็บ
  • แนวทางการดูแลสุขภาพ
  • แนวโน้มด้านอารมณ์และการนอนหลับ
  • เชื้อชาติและเผ่าพันธุ์
  • ลักษณะและคุณสมบัติของผิวหนัง รวมถึงแนวทางการดูแลผิวพรรณ
  • ลักษณะทางกายภาพ เช่น รูปร่าง สีผิว เส้นผม
  • ลักษณะทางเพศ
  • พฤติกรรมและบุคคลิกภาพ
  • ความถนัดและการประสบความสำเร็จในการเรียนหรือการทำงาน
  • ความเสี่ยงในการเป็นโรคทั่วไป เช่น เบาหวาน ไขมันสูง ความดันสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือสมอง โรคอ้วน
  • ความเสี่ยงของการเป็นโรคที่เฉพาะเจาะจง เช่น ออร์ธิซึ่ม หอบหืด ถุงลงโป่งพอง เก๊าท์ โรคต่อมไธรอยด์ รูมาตอยด์ กระดูกพรุน โรคข้อเสื่อม
  • ความเสี่ยงของการเกิดโรคทางสมอง เช่น อัลไซเมอร์ พาร์กินสัน โรคจิตเภท โรคไบโพล่าร์ โรคความจำเสื่อม
  • ปฏิกิริยาของร่างกายต่อยาชนิดต่างๆ
  • ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งบางชนิด
  • การวางแผนครอบครัว หรือความเสี่ยงต่อการเป็นโรคที่สืบทอดทางพันธุกรรม