ปัญหา “น้ำหนักขึ้น” อาจเกิดจากความผิดปกติของสมดุลฮอร์โมน

ปัญหา “น้ำหนักขึ้น” อาจเกิดจากความผิดปกติของสมดุลฮอร์โมน 

⏲️หากช่วงนี้น้ำหนักของคุณกำลังขึ้นอย่างไม่มีสาเหตุ หรือลดน้ำหนักไม่ลง คุณคงกำลังมีคำถามที่สงสัยในใจ เช่น ทำไมเราคุมอาหารแล้วแต่ไม่ผอมเหมือนคนอื่น ? ทำไมเราออกกำลังกายยังไงก็ไม่ผอมสักที? ทำทั้งคุมอาหารและออกกำลัง ทำไมน้ำหนักไม่ยอมลด ? หรือเรามีอะไรผิดปกติกันนะ?

♦️สิ่งสำคัญที่บางคนอาจไม่ทราบหรือมองข้ามไปคือ การทำงานของระบบต่อมไร้ท่อ หรือ สมดุลฮอร์โมน

♦️ฮอร์โมน คือ สารเคมีจากต่อมไร้ท่อที่คอยควบคุมการทำงานของร่างกายให้สมดุล ดังนั้นฮอร์โมนจึงส่งผลต่อน้ำหนักตัวของเรา และช่วยทำนายได้อีกด้วยว่า เราจะลดความอ้วนได้สำเร็จหรือไม่

♦️ในร่างกายมีฮอร์โมนหลายชนิดที่เกี่ยวข้องกับน้ำหนักตัวหรือความอ้วน โดยจะทำงานควบ คุมหลายระบบ เช่น การย่อยอาหาร การเผาผลาญ และความอยากอาหาร หากฮอร์โมนเหล่านี้ไม่สมดุลก็อาจเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เราอ้วนได้ ซึ่งฮอร์โมนที่มีผลกับน้ำหนัก ได้แก่

คอร์ติซอล (Cortisol) หลั่งจากต่อมหมวกไต เป็นฮอร์โมนที่มากับความเครียด เพราะเมื่อเรารู้สึกเครียด หรือแม้แต่กำลังอยู่ในภาวะอดอาหาร คอร์ติซอลจะถูกกระตุ้นให้หลั่งมากขึ้นเพื่อฟื้นฟูร่างกาย แต่ผลอีกด้านคือการกระตุ้นให้เกิดความหิวหรือความอยากของหวาน ดังคำกล่าวที่ว่า ยิ่งเครียดยิ่งกิน จนเป็นสาเหตุที่ทำให้อ้วนขึ้นโดยไม่รู้ตัว

ไทรอยด์ฮอร์โมน (Thyroid Hormone) หลั่งจากต่อมไทรอยด์บริเวณคอ ช่วยควบคุมการเผาผลาญพลังงาน ระดับอุณหภูมิของร่างกาย ระดับไขมันในเลือด รวมทั้งอารมณ์และความรู้สึก หากต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนออกมาได้น้อย น้ำหนักตัวก็จะเพิ่มขึ้นได้ง่าย ออกกำลังไม่ได้ผล

โกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) หลั่งจากต่อมใต้สมอง ทำหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตและช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื้อขณะนอนหลับ อีกทั้งช่วยในการเผาผลาญไขมัน ดังนั้นหากนอนพักผ่อนไม่เพียงพอ (นอนเกินสี่ทุ่ม) ร่างกายจะขาดโกรทฮอร์โมน ส่งผลให้ร่างกายมีการสะสมไขมันมากขึ้น รวมทั้งระบบเผาผลาญของร่างกายทำงานน้อยลง

อินซูลิน (Insulin) หลั่งจากตับอ่อน เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ ลดความเสี่ยงโรคเบาหวาน แต่ถ้าอินซูลินในเลือดมีปริมาณที่สูงเกินไป (ส่วนใหญ่เกิดจากการกินอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรต เช่น แป้ง ข้าว ของหวาน น้ำหวาน) จะส่งผลให้ร่างกายสะสมไขมันมากขึ้นกว่าปกติ และหากเรายังมีพฤติกรรมที่ชอบทานหวานอยู่บ่อยๆ จะเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน (Insulin Resistance) คือ สัญญาณเบื้องต้นที่บ่งชี้ว่า เราเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวาน เพราะว่าระดับน้ำตาลในเลือด (น้ำตาลกลูโคส) อยู่ในระดับที่สูงกว่ามาตรฐานส่งผลให้ร่างกายสะสมไขมันเยอะมากขึ้นเรื่อยๆจนลงพุงได้

เลปติน (Leptin) หรือฮอร์โมนความอิ่ม ทำหน้าที่ควบคุมความอยากอาหารไม่ให้มีมากจนเกินไป ความผิดปกติของฮอร์โมนชนิดนี้สัมพันธ์กับการนอนหลับพักผ่อน หากเราพักผ่อนไม่เพียงพอ ร่างกายจะมีภาวะต้านฮอร์โมนเลปติน (Leptin Resistance) ฮอร์โมนนี้ก็จะไม่สามารถส่งสัญญาณไปยังสมองได้ ว่า อิ่มแล้ว พอได้แล้ว จึงทำให้เรารู้สึกหิวตลอดเวลา

เกรลิน (Ghrelin Hormone) หรือฮอร์โมนความหิว เป็นฮอร์โมนที่ถูกหลั่งออกมาจากเซลล์กระเพาะอาหาร ช่วยกระตุ้นความหิว เกรลินจะหลั่งมากเป็นพิเศษในขณะที่เรารู้สึกเครียดหรือวิตกกังวล ทำงานหนัก นอนดึกหรือพักผ่อนน้อย ส่งผลให้เรารู้สึกหิวง่ายและอยากกินเพิ่มทั้งที่เราอิ่มไปแล้ว

นอกจากฮอร์โมนที่กล่าวมา ยังมีฮอร์โมนอีกกลุ่มที่สำคัญอยากมากต่อน้ำหนักตัวเช่นกัน คือ Sex Hormone หรือฮอร์โมนเพศ โดยขอกล่าวถึงต่อไปในบทความหน้า ซึ่งจะว่าด้วยเรื่อง ความสำคัญของฮอร์โมนเพศกับความอ้วนและการมีรูปร่างที่สวยงาม

หากคุณมีปัญหาน้ำหนักเพิ่มไม่ทราบสาเหตุหรือลดน้ำหนักไม่ลง อย่าเพิ่งมองข้ามเรื่องฮอร์โมนไปนะคะ กรณีสงสัยว่ามีปัญหาเหล่านี้ KMC สามารถตรวจระดับฮอร์โมนด้วยห้องแลปมาตรฐานสูง และทำการรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทนและอาหารเสริมแบบเฉพาะบุคคลโดยแพทย์ผู้มีความชำนาญ เพื่อช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมนอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย

? โปรโมชั่นพิเศษเดือนแห่งวันแม่ ลด 10% ทุกแพคเกจของโปรแกรมตรวจวัดระดับฮอร์โมน

?️ ตั้งแต่ วันนี้ – 31 สิงหาคม 2565 เท่านั้น

** ขอสงวนสิทธิ์งดร่วมกับส่วนลดหรือโปรโมชั่นอื่นๆ

สอบถามข้อมูลและทำนัดกับ KLAIRĒ MEDICAL CENTER ได้ที่
.
?Line@ ID: @klaireclinic
หรือคลิก https://line.me/R/ti/p/%40klaireclinic
☎️ 02-000-7135, 02-227-0600, 087-7730085
? https://klairemedicalcenter.com/
⏰ Mon – Fri: 8.00 AM – 17.00 PM, Sat: 8.00AM – 12.00 noon
? Live Smart Get Strong Better Longevity

*** บทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของบจก. เอ็ม.ดี. เฮลท์ แอนด์ บิวตี้ ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์โดยไม่ได้รับอนุญาต